ไทยประกันชีวิต พัฒนาสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองโรคร้ายแรง สูงสุดในธุรกิจถึง 108 โรค เบี้ย เริ่มต้นแค่หลักพัน คุ้มครองสูงสุด 1 ล้าน

นายไชย ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภายหลังจากบริษัทฯ ประกาศ Reinvent Business Model มุ่งสู่การเป็นทุกคำตอบของการประกันชีวิต หรือ Life Solutions  เพื่อสร้างสุขภาพที่ดี อายุที่ยืนยาว และความมั่งคั่งในยามเกษียณให้กับคนไทย ผ่านการสร้าง EcoHealth System เชื่อมโยงระบบการดูแลสุขภาพ และการส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้กับลูกค้าอย่างครบวงจร ผ่านการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์และบริการ การร่วมกับพันธมิตรด้านสุขภาพมอบสิทธิประโยชน์ที่มากกว่าให้กับลูกค้า รวมถึงบริษัทฯ ยังมุ่งปรับเปลี่ยน Mindset ของบุคลากร โดยเฉพาะตัวแทนไทยประกันชีวิต ที่จะต้องเป็นผู้ส่งมอบสุขภาพที่ดีให้กับผู้เอาประกัน เพื่อเป็นทุกคำตอบของการประกันชีวิต

ในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทฯ จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ คุ้มครองโรคร้ายแรงสูงถึง 108 โรค พร้อมคุ้มครองทุกระยะการเจ็บป่วย “สัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองโรคร้ายแรง มัลติเพย์” หรือ สัญญาเพิ่มเติมไทยประกันชีวิต พร้อมเปย์ 108 โรคร้าย ซึ่งเป็นสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองครอบคลุม 8 กลุ่มโรคร้าย ได้แก่ กลุ่มโรคมะเร็ง, กลุ่มอวัยวะและระบบต่างๆ ที่สำคัญ อาทิ โรคไตวายระยะแรก โรคตับวาย โรคไวรัสตับอักเสบขั้นรุนแรง โรคหอบหืดรุนแรงเฉียบพลัน, กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด

กลุ่มระบบประสาท, กลุ่มโรคร้ายอื่นๆ เช่น การสูญเสียความสามารถในการได้ยิน แผลไหม้ฉกรรจ์, กลุ่มโรคเด็ก อาทิ ไข้รูมาติกและลิ้นหัวใจรั่ว โรคมือเท้าปากที่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรง โรควิลสัน, กลุ่มโรคผู้สูงอายุ อาทิ โรคสมองเสื่อม โรคกระดูกพรุน และกลุ่มโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน ซึ่งการให้ความคุ้มครองจะคุ้มครองทุกระยะโรคร้าย ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ระยะปานกลาง และระยะรุนแรง

                “จุดเด่นของสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองโรคร้ายแรง มัลติเพย์ เป็นสัญญาเพิ่มเติมที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษา ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมโรคร้ายมากที่สุดในธุรกิจ และครอบคลุมความคุ้มครองในทุกระยะของโรค เหมาะสำหรับผู้ที่ให้ความสนใจด้านความคุ้มครองสุขภาพและโรคร้ายแรง โดยเฉพาะผู้ที่มีครอบครัว เพื่อป้องกันภาระทางการเงินกรณีเจ็บป่วย ไม่ให้ส่งผลกระทบถึงคนในครอบครัว รวมถึงผู้ที่ต้องการสร้างสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลสำหรับโรคร้ายแรงที่มีวงเงินค่ารักษาสูง ด้วยเบี้ยประกันภัยที่ไม่สูง” นายไชยกล่าว

                โดยสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองโรคร้ายแรง มัลติเพย์ เบี้ยประกันเริ่มต้นเพียงหลักพันบาท แต่ให้ความคุ้มครองสูงสุดถึง 1,000,000 บาท ขณะเดียวกัน กรณีผู้เอาประกันเคลมสินไหมครบ 100% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ยังได้รับความคุ้มครองต่อเนื่อง โดยไม่ต้องชำระเบี้ยของสัญญาเพิ่มเติมอีก รวมถึงเบี้ยประกันภัยในส่วนของการประกันสุขภาพ สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท

ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังได้พัฒนาบริการที่มากกว่าการประกันชีวิต เพื่อดูแลผู้เอาประกันอย่างครบรอบด้าน ด้วย “บริการให้คำปรึกษาความเห็นที่ 2 ทางการแพทย์ (Medical Second Opinion: MSO)” ซึ่งบริษัทฯ ร่วมกับ MediGuide ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาความเห็นที่ 2 ทางการแพทย์ ที่มีประสบการณ์กว่า 20 ปี และมีเครือข่ายการให้บริการจากสถาบันการแพทย์ชั้นนำทั่วโลกกว่า 100 แห่ง ทั้งในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ จีน

ผู้เอาประกันที่มีสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองโรคร้ายแรง จำนวนเงินเอาประกันตั้งแต่ 500,000 บาทขึ้นไป สามารถรับบริการได้ฟรี เพียงโทร.1800-012-128 เจ้าหน้าที่จะแจ้งรายละเอียดการรับบริการ และจัดส่งเอกสารยินยอมเปิดเผยประวัติการรักษา จากนั้นเจ้าหน้าที่จะเสนอสถาบันการแพทย์ให้ผู้เอาประกันพิจารณา 3 สถาบัน โดยผู้เอาประกันพิจารณาเลือกรับบริการได้ 1 สถาบัน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการวินิจฉัยและเสนอแนวทางการรักษาเพิ่มเติม

ซึ่งผู้เอาประกันสามารถรับผลการวินิจฉัยและแนวทางการรักษาที่แปลเป็นภาษาไทย ตามช่องทางที่แจ้งความประสงค์ไว้ อาทิ อีเมล หรือไปรษณีย์ โดยผู้เอาประกันไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับข้อมูลการรักษา เนื่องจากบริษัทฯ มีระบบรักษาความปลอดภัยทางข้อมูลและความเป็นส่วนตัว ตามมาตรฐานที่บริษัทฯ กำหนดไว้

ทั้งนี้ ระยะเวลาการรับผลวินิจฉัยความเห็นที่ 2 ทางการแพทย์ หากได้รับข้อมูลจากผู้เอาประกันครบถ้วน จะใช้เวลาอย่างน้อย 10 วันทำการ ซึ่งระยะเวลาการวินิจฉัย ขึ้นอยู่กับข้อมูลทางการแพทย์ที่ได้รับ จึงไม่เหมาะกับผู้เอาประกันที่ต้องได้รับการรักษาแบบฉุกเฉิน เนื่องจากมีความเสี่ยง หากต้องรอผลวินิจฉัย

นอกเหนือจากบริการ MSO แล้ว ผู้เอาประกันของไทยประกันชีวิต ยังจะได้รับสิทธิพิเศษอื่นๆ  อาทิ ไทยประกันชีวิตฮอตไลน์ บริการทางการแพทย์และเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกที่ ทั่วโลก ไทยประกันชีวิตแคร์เซ็นเตอร์ ศูนย์ดูแลสิทธิประโยชน์ผู้เอาประกัน ไทยประกันชีวิตเมดิแคร์ การเข้ารับการรักษาในโรงพยาลาลเครือข่าย โดยไม่ต้องสำรองจ่าย เป็นต้น

 

 

Visitors: 11,025,198