ผลสำรวจอลันซ์ 50 ปท. ทั่วโลกเงินฝากลดลง 12.6 ลล.บ. ลงทุนหุ้นแซงเงินออม 42% ประกันโต 5.2%

อลิอันซ์ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต ได้เปิดเผยรายงานความมั่งคั่งทั่วโลก ฉบับที่ 9 ที่ทำการสำรวจภาวะสินทรัพย์และหนี้สินภาคครัวเรือนในกว่า 50 ประเทศอย่างละเอียด

 

ปี 2560 เป็นปีที่พิเศษสุด ท่ามกลางความตึงเครียดทางการเมืองที่มีมากขึ้น แต่ก็เป็นปีที่เกือบจะสมบูรณ์แบบสำหรับนักลงทุน การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังจากเกิดวิกฤตทางการเงินส่งผลให้เกิดการฟื้นตัวพร้อมๆ กันทั่วโลก และตลาดเงินเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะในตลาดตราสารทุน ส่งผลให้สินทรัพย์ทางการเงินภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ร้อยละ 7.7 สินทรัพย์ทางการเงินรวมของโลกเพิ่มสูงขึ้นแตะ 168 ล้านล้านยูโร (หรือประมาณ 5.5 ล้านล้านบาท)

นายไมเคิล ไฮส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกลุ่มอลิอันซ์ เยอรมนี ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต กล่าวว่า “ปีที่แล้วเป็นปีที่ดีมากสำหรับผู้ฝากเงิน ถือเป็นยุคหลังวิกฤติที่จบลงด้วยดี อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป นโยบายการเงินที่ครอบจักรวาลสุดขั้วช่วยให้เกิดกระแสขาขึ้นอย่างต่อเนื่องและมั่นคงในตลาดเงิน แต่ตอนนี้ก็เริ่มเห็นสัญญาณต่างๆ ที่น่าเป็นกังวล อาทิ การขึ้นอัตราดอกเบี้ย ความขัดแย้งทางการค้าและการเมืองที่เน้นนโยบายประชานิยมมากขึ้นเป็นสาเหตุให้เกิดความตึงเครียดและความวุ่นวาย ซึ่งทำให้เดือนแรกของปีนี้มีสัญญาณที่ไม่ดีนัก"

 

สำหรับประเทศไทย การเติบโตของสินทรัพย์ทางการเงินชะลอตัว

ในปี 2560 สินทรัพย์ทางการเงินภาคครัวเรือนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 ชะลอตัวลงจากร้อยละ 9.8 ในปีก่อน "ตัวการ" สำคัญ คือ หลักทรัพย์ที่มีอัตราการเติบโต "เพียง" ร้อยละ 9.8 หลังจากปีกันชนในปี 2559 ที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 สินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ ขยายตัวพอๆ กับปีที่ผ่านมา กล่าวคือ เงินฝากธนาคารเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 และสินทรัพย์ประกันภัยและเงินบำเหน็จบำนาญเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เงินฝากธนาคารยังคงอยู่ในกลุ่มสินทรัพย์ที่โดดเด่นในหน่วยลงทุนกลุ่มภาคครัวเรือนไทยซึ่งคิดเป็นร้อยละ 45 ของสินทรัพย์ทางการเงินรวม ตามด้วยหลักทรัพย์ หุ้นและพันธบัตรโดยมีสัดส่วนร้อยละ 39.3

 

การก่อหนี้ของภาคครัวเรือนของไทยยังคงเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข แม้จะผ่อนคลายเล็กน้อยในปี 2560 แต่หนี้สินภาคเอกชนก็ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างมโหฬารถึงร้อยละ 79.1 ของ GDP ซึ่งลดลงจากจุดสูงสุดที่ ร้อยละ 81.2 ในปี 2558 อย่างไรก็ตาม พัฒนาการเช่นนี้ไม่ได้สะท้อนถึงการหยุดยั้งที่จะไม่ก่อหนี้ ในทางตรงกลับกัน หนี้สินพุ่งสูงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อปีที่แล้ว แตะที่ร้อยละ 4.6 หลังจากเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.8 ในปี 2559 เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่า (ตัวเลข) การเติบโตทางเศรษฐกิจแซงหน้าการเติบโตของสินเชื่อ แม้ว่าอัตราการขยายตัวจะต่ำกว่าอัตราตัวเลขสองหลักที่มีให้เห็นในระหว่างปี 2553-2556 โดยเฉพาะอย่างยิ่งครัวเรือนที่อยู่ในกลุ่มที่มีรายได้น้อย ยังคงอ่อนแอ นอกจากนี้ การเพิ่มดอกเบี้ยและอัตราการว่างงานอาจเป็นสาเหตุให้จำนวนครัวเรือนที่ประสบปัญหาในการชำระคืนเงินกู้ยืมพุ่งสูงขึ้น

 

สินทรัพย์ทางการเงินสุทธิเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 8 แตะ 4,330 ยูโรต่อหัว (หรือประมาณ 140,530 บาท) ดังนั้น ประเทศไทยจึงอยู่ในลำดับที่ 44 ของกลุ่มประเทศที่ร่ำรวยที่สุดของโลกเช่นเดียวกันกับปีก่อน สวิตเซอร์แลนด์กลับขึ้นมาผงาดครองอันดับสูงสุด หลังสูญเสียอันดับที่หนึ่งให้กับสหรัฐอเมริกาไปเมื่อปีก่อน โดยทั่วไปแล้วประเทศในแถบยุโรปทำอันดับได้ดีขึ้นในปี 2560 ดีกว่าหลายปีก่อนหน้านี้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงเงินยูโรที่แข็งแกร่งขึ้นมากที่สุดและเป็นสกุลเงินที่สำคัญที่สุด

กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมตามติด — ดูสหรัฐอเมริกาไล่บี้แซงจีน

หลายปีหลังจากวิกฤติ การเติบโตของสินทรัพย์ที่ค่อนข้างอ่อนแอในภาคอุตสาหกรรมเห็นได้ชัดขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศเกิดใหม่ ซึ่งการเติบโตเช่นนี้ยังคงเปลี่ยนแปลงในปี 2560 อัตราเร่งในการเติบโตเกิดขึ้นจากการพัฒนาในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมเป็นหลัก กล่าวคือ ขณะที่การเติบโตของสินทรัพย์ในประเทศต่างๆ เหล่านี้เพิ่มขึ้นมากกว่าหนึ่งจุดเป็นร้อยละ 6.5 กลุ่มประเทศเกิดใหม่เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 12.9 ผลต่างของการเติบโตของสินทรัพย์ระหว่างกลุ่มประเทศทั้งสองกลุ่มนี้จึงอยู่ในระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2548 ที่ร้อยละ 6.5 ตัวเลขเฉลี่ยการเติบโตของสินทรัพย์ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาสูงกว่าสองเท่าที่ร้อยละ 13 พัฒนาการที่ขัดกันเช่นนี้เมื่อดูการเติบโตของสินทรัพย์ทางการเงินเกิดจากคู่มวยรุ่นเฮฟวี่เวทอย่างพญามังกรจีน (การเติบโตที่ชะลอตัวลงจากร้อยละ 18.3 เหลือเพียงร้อยละ 14) กับพญาอินทรีสหรัฐอเมริกา (ซึ่งการขยายตัวพุ่งพรวดขึ้นจากร้อยละ 5.8 เป็นร้อยละ 8.5) ในเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) มีการขยายตัวลดลงจากร้อยละ 14.7 ในปี 2559 มาอยู่ที่ร้อยละ 12.2 ในปี 2560 ดังนั้น สหรัฐอเมริกาจึงแซงหน้าคู่แข่งอย่างจีนได้อีกครั้งในแง่ของอัตราการเติบโตอย่างแน่นอนแล้ว ในปี 2560 การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา คิดเป็นประมาณร้อยละ 44 ของการเติบโตของสินทรัพย์ทางการเงินภาคครัวเรือนรวมทั้งโลก ในขณะที่ประเทศจีนมีสัดส่วนสินทรัพย์ภาคครัวเรือนเพียงร้อยละ 25 เท่านั้น อัตราส่วนดังกล่าวเฉลี่ยร้อยละ 26 เทียบกับร้อยละ 35 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจีนขยายตัวเป็นอันดับหนึ่ง

 

ความไม่เสมอภาคมีมากขึ้นในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม

พัฒนาการของความไม่เท่าเทียมกันในบริบทของประเทศแสดงออกมาให้เห็นภาพที่แตกต่างกันออกไป ในหลายประเทศมีการกระจายความมั่งคั่งได้ดีขึ้นนับตั้งแต่เปลี่ยนสหัสวรรษ แต่การกระจายความมั่งคั่งในหลาย ๆ ประเทศก็แย่ลง เช่น ประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ เริ่มตั้งแต่สหรัฐอเมริกาไปจนถึงประเทศในกลุ่มวิกฤตยูโร และไม่เว้นแม้แต่ประเทศเยอรมนีและญี่ปุ่น การรับรู้ว่าประเทศอุตสาหกรรม "เก่าแก่" เป็นอาทิ ได้รับความทุกข์ระทมจากวิกฤตในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาจากช่องว่างของความไม่เท่าเทียมระหว่างคนรวยและคนจนที่ถ่างเพิ่มมากขึ้น ซึ่งดูเหมือนว่าจะสอดคล้องกับความเป็นจริงในหลาย ๆ กรณี และเป็นจริงสำหรับประเทศไทย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลายครัวเรือนได้ถูกลดชั้นจากความมั่งคั่งระดับกลางไปสู่ระดับความมั่งคั่งต่ำสืบเนื่องมาจากการก่อหนี้สินที่พอกพูนขึ้น

 

ตัวชี้วัดใหม่สำหรับการกระจายความมั่งคั่งระดับประเทศ

เพื่อให้ได้ภาพการกระจายความมั่งคั่งในระดับประเทศที่แตกต่างน้อยมากในบริบทระหว่างประเทศ เราจึงได้นำเสนอตัวชี้วัดใหม่ในรายงานนี้ คือ ดัชนีความมั่งคั่งส่วนทุน (Allianz Wealth Equity Indicator: AWEI) ผลลัพธ์บางอย่างเป็นที่น่าประหลาดใจ "ผู้ต้องสงสัย" ยังคงเป็น สหรัฐอเมริกา แอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย และสหราชอาณาจักร เป็นประเทศที่มีการกระจายของความมั่งคั่งที่ถูกบิดเบือนอย่างมาก รวมถึงเดนมาร์ก สวีเดน และเยอรมนี ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย อาจเป็นเพราะระดับหนี้ที่สูงขึ้นในหมู่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ การรวมตัวที่ล่าช้าของประเทศเยอรมนี และปัญหาการขาดแคลนเงินเพื่อจ่ายเงินตามแผนการจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญมีส่วนสำคัญในกระจายความมั่งคั่ง ในทางตรงข้าม ประเทศที่มีการกระจายความมั่งคั่งค่อนข้างสมดุล ประกอบด้วยประเทศในแถบยุโรปตะวันออกและยุโรปตะวันตกหลายประเทศ ซึ่งบางประเทศเป็นประเทศที่ประสบกับวิกฤตยูโร เช่น อิตาลี สเปนและกรีซ แม้ว่าในช่วงสองสามปีของวิกฤตทางการเงิน และความมัธยัสถ์อาจทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันมากขึ้นในสองประเทศนี้ ซึ่งยังคงมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มั่นคงมากพอที่จะรองรับวิกฤตได้ เนื่องจากสินทรัพย์มีการกระจายตัวอย่างทั่วถึง ไม่ใช่สิ่งสุดท้ายที่เห็น หากเป็นสินทรัพย์กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ แม้การกระจายความมั่งคั่งจะเลวร้ายลงในปัจจุบัน แต่ไทยยังคงจัดอยู่ในประเทศที่มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นในการจัดอันดับครั้งนี้

 

"ตัวบ่งชี้ความมั่งคั่งใหม่ของเราแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเราควรระมัดระวังในการหาข้อสรุปที่เร่งรีบหรือง่ายไป นอกเหนือจากสหรัฐอเมริกา ไม่มีประเทศใดตรงกับความคิดของการกระจายความมั่งคั่งที่ถูกบิดเบือนสุดโต่ง แต่ยังคงเลวร้ายอีกต่อไป ในประเทศส่วนใหญ่ เงาสีเทาเริ่มปรากฏให้เห็นแล้ว” ไมเคิล ไฮส์ กล่าว

 

การลงทุนในหลักทรัพย์กลับมาคึกคัก

พฤติกรรมการลงทุนในปี 2560 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด หลังจากที่นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่สนใจลงทุนในหุ้นและกองทุนรวม ในช่วงหลายปีหลังจากวิกฤติ ปี 2560 เราได้เห็นเงินไหลเข้าอย่างมีนัยสำคัญในสินทรัพย์ประเภทนี้ ส่วนแบ่งในปีก่อนเกือบแตะหนึ่งในห้าของเงินลงทุนใหม่ ซึ่งสูงกว่าในช่วงหลายปีก่อนหน้าเกิดภาวะวิกฤติ ในบริบทของตลาดหุ้นที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วแสดงให้เห็นว่าเป็นหลักทรัพย์ที่เติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งที่สุดในบรรดาสินทรัพย์ทุกประเภทในปี 2560 เพิ่มขึ้นรวมร้อยละ 12.2 และคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 42 ของเงินออมทั้งหมดในสิ้นปี 2560 ตามติด ๆ มาด้วยอันดับที่สองโดยเงินรับ (Receivables) จากบริษัทประกันภัยและเงินบำนาญ คิดเป็นร้อยละ 29 ของพอร์ตสินทรัพย์และขยายตัวร้อยละ 5.2 ในปีที่ผ่านมา

 

ในขณะที่นักลงทุนพบว่าตลาดทุน เงินฝากธนาคารได้รับความนิยมลดลงในหมู่ครัวเรือนทั่วโลก มีเพียงร้อยละ 42 ของเม็ดเงินลงทุนใหม่ที่ไหลเข้าสู่ธนาคาร เทียบกับร้อยละ 63 เมื่อปีก่อน ตัวเลขเต็มๆ คือ ลดลงกว่า 390,000 ล้านยูโร (หรือประมาณ 12.6 ล้านล้านบาท)  เป็นผลทำให้การเติบโตของเงินฝากลดลงถึงสองจุดที่ร้อยละ 4.3 (ส่วนแบ่งของพอร์ตสินทรัพย์เกือบร้อยละ 27)

 

แคทริน แบรนด์เมียร์ (Kathrin Brandmeir) ผู้ร่วมเขียนรายงาน กล่าวว่า "ผู้ฝากเงินได้รับรู้ถึงสัญญาณของเวลาแล้ว การที่ผู้ฝากเงินจะไม่นำเงินไปฝากธนาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอุตสาหกรรม "เก่า" ไม่ได้มาติดอันดับที่สองเร็วจนเกินไป เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเริ่มหวนกลับมาแล้ว นอกจากนี้ การเพิ่มราคาสินค้าในประเทศเหล่านี้สูงขึ้นเป็นสองเท่าในปี 2560 แม้ว่าจะยังอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้ยอดความสูญเสียในอำนาจซื้อของเงินฝากธนาคารพุ่งขึ้นด้วย คาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 400,000 ล้านยูโร(หรือประมาณ 12.9 ล้านล้านบาท) ในปี 2560 เพียงปีเดียว

การเติบโตของหนี้สินพุ่งสูงขึ้นต่อไปอีก

หนี้สินครัวเรือนทั่วโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 ในปี 2560 ดังนั้นอัตราการเติบโตอยู่ในระดับที่สูงกว่าปีที่แล้วเล็กน้อยที่ระดับร้อยละ 5.5 ในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) การเติบโตของหนี้สินเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่อยู่ในระดับสูงโดยลดลงจากร้อยละ 16.5 เป็น ร้อยละ 15.8 ในปี 2560 เนื่องจากความต้องการสินเชื่อที่สูงในตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาค (สัดส่วนหนี้สินคิดเป็นร้อยละต่อ GDP) เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยที่ร้อยละ 64.3 (ในเอเชียไม่รวมญี่ปุ่นมีหนี้ร้อยละ 49.2 ของ GDP) ตัวเลขค่าเฉลี่ยเหล่านี้ปกปิดความแตกต่างกันอย่างมหาศาลในบางประเทศ ระดับหนี้และการเปลี่ยนแปลงได้ถึงขั้นวิกฤตในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

 

มิเคล่า กริมม์ (Michaela Grimm) ผู้ร่วมเขียนรายงานอีกคน ให้ความเห็นว่า “ในประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์ส่วนใหญ่ การขยับของหนี้ภาคเอกชนยังไม่น่าเป็นห่วง อย่างไรก็ตาม มีบางประเทศในแถบเอเชีย เช่น ไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้และจีน น่าจะได้รับการติดตามพัฒนาการของหนี้อย่างใกล้ชิดโดยสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามในประเทศเหล่านี้ คือ มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องของการมีสินเชื่อที่มากเกินไปก่อนจะเกิดวิกฤติทางการเงิน แม้ว่าภาระหนี้จะมีการเติบโตมาก สินทรัพย์ทางการเงินสุทธิ เช่น ส่วนต่างระหว่างสินทรัพย์ทางการเงินรวมและหนี้สินที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ที่ 128.5 ล้านล้านยูโร ใกล้เคียงกับตัวเลขในปี 2560 ซึ่งแสดงถึงหนี้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า”

 

การมีส่วนร่วมมากขึ้นจากโลกาภิวัตน์

 

ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาของโลกาภิวัตน์ที่รวดเร็วได้ก่อให้เกิดชนชั้นกลางกลุ่มใหม่ของความมั่งคั่งขึ้นบนโลกซึ่งมีมากถึงราว 1.1 พันล้านคนในปลายปี 2560 ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่า 500 ล้านคนในช่วงเปลี่ยนสหัสวรรษ น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของชนชั้นกลางกลุ่มนี้มาจากยุโรปตะวันตก อเมริกาเหนือ หรือญี่ปุ่น ปัจจุบัน ประเทศเหล่านี้มีสัดส่วนเพียงหนึ่งในสี่ของชนชั้นกลางที่มีความมั่งคั่งทั่วโลกเท่านั้นในทางตรงกันข้าม ส่วนแบ่งของชนชั้นกลางในจีนได้เพิ่มขึ้นจากต่ำกว่าร้อยละ 30 มาเป็นสูงมากกว่าร้อยละ 50 ในช่วงเวลานี้ ตัวเลขที่มาพร้อมกับเรื่องราวความสำเร็จนี้เป็นที่น่าประทับใจ ชาวจีนประมาณ 500 ล้านคนได้ย้ายเข้าสู่กลุ่มชนชั้นกลางที่มีฐานะร่ำรวยระดับโลกตั้งแต่ปี 2543 และมีชาวจีนกว่า 100 ล้านคนสามารถนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มคนที่มีความมั่งคั่งระดับโลก ดังนั้น วันนี้จึงกล่าวได้ว่าร้อยละ 62 ของชนชั้นกลางที่มีความมั่งคั่งระดับโลกและร้อยละ 42 ของชนชั้นที่มีความมั่งคั่งสูงเป็นพลเมืองของประเทศในเอเชีย

Visitors: 11,025,178