เทสโก้ โลตัส จับมือ เอสซีจี สนับสนุนการใช้ถุงกระดาษรีไซเคิล ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ดีเดย์วันสิ่งแวดล้อมไทย 4 ธ.ค. นี้ งดให้ถุงพลาสติกทุกสาขาทั่วประเทศ

เทสโก้ โลตัส ผู้นำธุรกิจค้าปลีก และธุรกิจแพคเกจจิ้ง ในเอสซีจี ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ครบวงจร จับมือร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อมตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) นำกล่องกระดาษใช้งานแล้วในธุรกิจของเทสโก้ โลตัส มารีไซเคิลเป็นถุงกระดาษใหม่ เพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าแทนการใช้ถุงพลาสติก สร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกและมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่อย่างยั่งยืน เริ่มใช้ในวันสิ่งแวดล้อมไทย 4 ธันวาคมนี้ ที่เทสโก้ โลตัส 2,000 สาขาทั่วประเทศ

 

คุณสลิลลา สีหพันธุ์ ประธานกรรมการฝ่ายกิจการบรรษัท เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า “เทสโก้ โลตัส เล็งเห็นถึงปัญหาขยะพลาสติกทั้งในระดับประเทศและระดับโลกที่มีจำนวนมากขึ้น และความเร่งด่วนในการร่วมกันแก้ไขปัญหาโดยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในฐานะผู้ประกอบการค้าปลีก เทสโก้ โลตัส มีบทบาทในการรณรงค์เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกของลูกค้า ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายด้านความยั่งยืนของกลุ่มเทสโก้ หรือที่เรียกว่า  The Little Helps Plan โดยเทสโก้ โลตัส ได้เริ่มรณรงค์ลดใช้ถุงพลาสติกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นห้างค้าปลีกรายแรกที่นำระบบการให้แต้มเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้าไม่รับถุงพลาสติกมาใช้ในประเทศไทย ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา สามารถลดถุงพลาสติกไปได้แล้วอย่างน้อย 100 ล้านใบ เทสโก้ โลตัส ได้เพิ่มความเข้มข้นของการรณรงค์ขึ้นทุกปี และตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ได้เพิ่มแต้มกรีนพ้อยท์ 5 เท่า จากเดิม 20 แต้มเป็น 100 แต้มทุกวัน ส่งผลให้จำนวนลูกค้าที่ไม่รับถุงพลาสติกเพิ่มขึ้นถึง 70%

 

“สำหรับวันสิ่งแวดล้อมไทยที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 4 ธันวาคมนี้ เทสโก้ โลตัส ได้ร่วมมือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผู้ประกอบการค้าปลีกรายอื่น ๆ ในการงดให้ถุงหูหิ้วพลาสติกที่ร้านค้าทุกรูปแบบ ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยรณรงค์ให้ลูกค้านำถุงผ้ามาใช้ และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าเพิ่มเติม จึงได้ร่วมมือกับเอสซีจี ในการผลิตถุงกระดาษรีไซเคิลจากกล่องและกระดาษใช้แล้วที่รวบรวมจากศูนย์กระจายสินค้าเทสโก้ โลตัส ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อนำทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด กลับมาสร้างคุณค่าและใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยได้ผลิตถุงกระดาษและกระจายไปยังร้านค้าของเทสโก้ โลตัส ทั่วประเทศ เพื่อให้เพียงพอต่อ
ความต้องการของลูกค้า”

 

“เทสโก้ โลตัส ใช้กลยุทธ์ 5R ในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คือ Reduce- การลดการใช้ถุงพลาสติก ไม่ซ้อนถุง ใช้เท่าที่จำเป็นหรือไม่รับถุงพลาสติกเลย Reuse- การนำถุงกลับมาใช้ซ้ำหรือใช้ถุงผ้า Recycle- การนำกล่องกระดาษกลับมาแปรรูปเป็นถุงกระดาษ Reward การสร้างแรงจูงใจเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมลดการใช้ถุงพลาสติกด้วยการมอบแต้ม
กรีนพ้อยท์ และ
Rebate- การให้ส่วนลด 1 บาท ต่อ 1 ใบเสร็จ เมื่อลูกค้านำถุงผ้าเทสโก้ โลตัส ที่มีบาร์โค้ดพิเศษมาใช้ซื้อสินค้า ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2561 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2562 โดยมีถุงผ้าหลากหลายดีไซน์ ราคา 89 และ 99 บาท ผลิตขึ้นโดยมีบาร์โค้ดพิเศษติดอยู่ด้านข้างถุง เพื่อให้ลูกค้าไม่ลืมที่จะนำถุงผ้ากลับมาใช้ทุกครั้งที่มาซื้อของที่เทสโก้ โลตัส” คุณสลิลลา
กล่าวสรุป

 

คุณธนวงษ์ อารีรัชชกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจแพคเกจจิ้ง เอสซีจีกล่าวว่า “จากการที่ประชากรเพิ่มขึ้นและความต้องการใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เอสซีจี จึงให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและ
การดูแลสิ่งแวดล้อม ตามหลักการของการพัฒนาอย่างยั่งยืน และยังได้นำแนวทางของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ
Circular Economy มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะช่วยให้การใช้ทรัพยากรมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

“ในส่วนของธุรกิจแพคเกจจิ้ง ได้ร่วมมือกับเทสโก้ โลตัส นำกล่องบรรจุสินค้าที่ใช้แล้ว จากเทสโก้ โลตัส กลับสู่โรงงาน เพื่อรีไซเคิลเป็นกระดาษใหม่ ด้วยกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการควบคุมการใช้ทรัพยากรและการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ จากนั้นนำกระดาษไปเข้ากระบวนการแปรรูปเป็นถุงกระดาษที่มีคุณภาพแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี  ซึ่งถุงกระดาษที่ใช้งานแล้ว ยังสามารถนำกลับมารีไซเคิลในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ได้อีกด้วย”

 

 

นอกจากนี้ เอสซีจี ได้นำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนไปใช้ในการดำเนินธุรกิจทั้ง ในด้านการออกแบบสินค้าและบริการ เน้นการออกแบบให้สินค้าให้ใช้งานง่าย ใช้ทรัพยากรน้อย คงทนแข็งแรง นำมาใช้ซ้ำและนำกลับมารีไซเคิลง่าย หรือการออกแบบให้กระดาษนำมาผลิตเป็นสินค้ารูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้ทดแทนวัสดุอื่น รวมถึงการพัฒนากระดาษให้มีสัดส่วนวัตถุดิบรีไซเคิลที่สูงขึ้นในขณะที่กระดาษยังคงแข็งแรงและผิวสะอาด เป็นต้น และ ในด้านกระบวนการ มีการปรับปรุงการผลิตและการดำเนินการให้เกิด Circular Economy ตลอดทั้ง Supply Chain เช่น การลดการใช้น้ำและพลังงานในกระบวนการผลิต และยังมีการนำระบบดิจิทัล หรือ Application Tool เข้ามาช่วยในการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างเอสซีจีและคู่ค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ Value Chain ให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย ซึ่งเอสซีจี พร้อมที่จะขับเคลื่อน Circular Economy จากภายในองค์กรไปสู่สังคมภายนอก ลูกค้า และผู้บริโภค เพื่อให้ทุกส่วนเห็นคุณค่าและขับเคลื่อนไปด้วยกัน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และเกิด Platform ใหม่ ๆ ที่จะช่วยกันทำให้สังคมและสิ่งแวดล้อมดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืนคุณธนวงษ์กล่าวปิดท้าย

Visitors: 11,101,617