“รมช.สมชายฯ”ลงพื้นที่แดนสะตอ ถกภาครัฐ-เอกชน 14 จังหวัดใต้ จี้ผลักดันศักยภาพอุตฯภาคใต้ติดลมบน เล็งตั้งศูนย์ฮาลาลฯหนุนเศรษฐกิจท้องถิ่นโต

กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมหารือเครือข่ายภาครัฐ เอกชน 14 จังหวัดภาคใต้ กางแผนขับเคลื่อน SMEs 4.0 ในพื้นที่ บูมศักยภาพอุตสาหกรรมภาคใต้ให้ติดลมบน พร้อมชักชวน Big Brother ร่วมพัฒนา Factory 4.0 รุกตั้งศูนย์ฮาลาลพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หวังสร้างระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นโตต่อเนื่อง จัดติวเข้มมาตรการทางการเงินแก่ SMEs ให้ใช้บัญชีเดียวเปิดทาง            สู่โลกการค้ายุคใหม่ สอดคล้องนโยบายThailand 4.0 ได้อย่างตรงจุด!

นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมเครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อหารือแนวทางการขับเคลื่อน SMEs 4.0 ในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรม SME สัญจร : พลิกธุรกิจสู่อุตสาหกรรม 4.0 ครั้งที่ 4 จังหวัดสงขลา มีหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนภาคเอกชนในพื้นที่เข้าร่วมหารือ โดยเครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ภาคใต้ได้นำเสนอ flagship ที่ตอบสนองต่อ ความต้องการของพื้นจำนวน 5 โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการการพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ยางพารา และยางพาราครบวงจร มุ่งหวังให้ “ไม้ยางพาราไทยสู่ไม้ยางพาราโลก” โดยการยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถ SMEs และอุตสาหกรรมไม้ยางพาราทั้งระบบสู่อุตสาหกรรม 4.0 รวมทั้งส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมไม้ยางพารา และการสร้างมูลค่าเพิ่มวัสดุเหลือใช้ และสนับสนุนการดำเนินการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และการจัดการ  อย่างยั่งยืน 2.โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราครบวงจร สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการยางพาราพันธ์ใหม่ การต่อยอดขยายผลและขอบเขตการใช้งานของวัตถุอิบยางพาราเพื่อใช้ในวงการอื่นๆ การรวบรวมผลิตภัณฑ์ยางพาราที่มีทั่วโลก 3. โครงการจัดตั้งศูนย์รับรองมาตรฐานฮาลาล เพื่ออำนวยความสะดวกในการขอรับรองตราสัญลักษณ์ ฮาลาล ซึ่งจากที่ปัจจุบันต้องส่งเอกสารไปยังสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยก็สามารถขอได้  ในพื้นที่ภาคใต้ โดยคาดว่าหากมีการจัดตั้งศูนย์ฯ แล้วจะส่งผลให้มีสินค้าและบริการที่ได้รับเครื่องหมายฮาลาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 4. โครงการ CIV4.0 เพื่อพัฒนาต่อยอด CIV ทั้ง 5 จังหวัด และ 5.โครงการ Hand in Hand & Marketing Hub  มุ่งส่งเสริมและพัฒนาการแปรรูปจากยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ด้วยการส่งเสริมให้ภาคใต้ของไทย เป็นฐานของการประกอบธุรกิจการบริการ และการลงทุน สร้างความเป็นหุ้นส่วนกับการพัฒนาประเทศเชื่อมโยงกับภูมิภาค

               ทั้ง 5 flagship จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ (New-Growth Engine) ส่งเสริมให้เกิด  การเชื่อมโยงทางการค้า การท่องเที่ยว และการลงทุน ควบคู่ไปกับการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค และการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ชายแดน และจังหวัดในภาคใต้ รวมทั้งเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการจัดระบบการสะสมเทคโนโลยีอย่างยั่งยืนในทุกมิติ สามารถ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น นายสมชาย กล่าว

               นอกจากนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เป็นประธานเปิดงาน “SMEs สัญจร : เสริมแกร่ง SMEs รอบรู้เรื่องบัญชีและการเงิน: พลิกธุรกิจสู่อุตสาหกรรม 4.0โดยมีการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ ในด้านบัญชีและการเงิน ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจระดับเติบโต (SME Strong/Regular Level)  ตามมาตรการส่งเสริมพัฒนาความรู้ด้านการบริหารจัดการการเงิน (Financial Literacy) ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการพิเศษเพื่อขับเคลื่อน SMEs สู่ยุค 4.0 ของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่คาดว่าจะทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับความรู้ด้านบัญชีการเงิน และเห็นความสำคัญของการเข้าสู่ระบบบัญชีเดียว เพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการให้สูงขึ้น และเตรียมความพร้อมให้เข้าถึงแหล่งทุนต่อไป

และในช่วงบ่าย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (Industry Transformation Center : ITC 4.0) ในพื้นที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 จังหวัดสงขลา เพื่อเป็นศูนย์ส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการ SME และ OTOP ให้ก้าวเข้าสู่การเป็น SMEs 4.0 โดยการดำเนินงาน  ของศูนย์ ITC นี้ เป็นศูนย์กลางรวบรวมองค์ความรู้ เครื่องมือ เครื่องจักร สำหรับให้บริการผู้ประกอบการในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 ซึ่งสอดคล้อง กับยุทธศาสตร์ของนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาจังหวัดภาคใต้ชายแดนที่มุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลและเป็นการยกระดับวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) และวิสาหกิจชุมชน (OTOP) ในพื้นที่ดังกล่าวให้มีความเข้มแข็งและพัฒนาปรุงผลิตภัณฑ์  ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในโลกปัจจุบัน โดยศูนย์ ITC มีรูปแบบแนวคิดการดำเนินงาน คือ                        1) Innovation Zone นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพัฒนาจากโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับ  ความต้องการของตลาด และโครงการเพิ่มศักยภาพและยกระดับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป้าหมายอาหารแปรรูป เครือข่าย มาตรฐานฮาลาล จำนวน ผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพัฒนาจาก  ศูนย์การออกแบบและตรวจสอบผลิตภัณฑ์อุตสาหกกรรม(สาขาอาหาร) ต้นแบบ สถาบันอาหาร 2) Product Development Zone นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพัฒนาจากโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ และการพิมพ์ และพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ และโครงการเพิ่มผลิตภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  สู่อุตสาหกรรม 4.0 รวมทั้งนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพัฒนาจากหน่วยร่วมบริการต่าง ๆ 3) Big Brother and Networking Zone

สำหรับศูนย์ ITC แห่งนี้ ยังมีหน่วยงานและสถาบันเครือข่ายที่ร่วมให้บริการทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ได้แก่ 1. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) 2. สถาบันอาหาร 3. สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา 4. คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 5. อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 6. ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 7. ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา และ 8. ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมเป็น BIG BROTHERs กับทาง กระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่ บริษัท สมูทแพค จำกัด บริษัท ฟู้ด แมชชิน เนอรี่ จำกัด และบริษัท อินดิโก้ อินเตอร์ มีเดีย จำกัด

จากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เดินทางไปยังชุมชนท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เยี่ยมชมพื้นที่ชุมชนบ้านท่าข้าม พบปะผู้นำชุมชน สมาชิก และผู้ประกอบการ Local Economy เพื่อหารือแนวทางการพัฒนาให้เป็นหมู่บ้าน CIV ในปี 2562 มุ่งเป้าพัฒนาให้เป็นจุด Check in ศูนย์เรียนรู้ ร้านค้าชุมชน ให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงเกษตร ยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ได้ ทั้งนี้ ตำบลท่าข้าม มีเนื้อที่    34 ตารางกิโลเมตร ประชากรในพื้นที่จำนวน 7,600 คน มี 8 หมู่บ้าน โดยชาวบ้านในพื้นที่ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราและปลูกพืชเกษตร

Visitors: 11,025,110